วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษาต่อไปนี้


โครงสร้างโปรแกรมภาษาต่อไปนี้
1.pascal

                      

ภาษาปาสคาล  เป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language)  เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยม  เนื่องมาจากตัวภาษามีลักษณะเด่นหลายด้าน  เช่น  รูปแบบคำสั่งที่มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ  ง่ายต่อการเขียน และการจดจำ  นอกจากนี้โปรแกรมยังมีลักษณะที่เป็นโครงสร้าง (Structure Programing) ง่ายต่อการศึกษา มีตัวแปรภาษา(Compilers) อยู่ในหลายระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นภาษาที่เหมาะสมกับงานในทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน ด้านการศึกษา เหมาะกับผู้ที่จะเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมเป็นครั้งแรก


                              ปาสคาล(Pascal)  เป็นชื่อที่ได้รับสมญานามมาจาก "Blaise Pascal" นักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในการประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมภาษาปาสคาลประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ  3  ส่วนคือ
1.  ส่วนหัวโปรแกรม  (program  heading)
2.  ส่วนประกาศ  (program  declarations)
3.  ส่วนคำสั่งการทำงาน  (program  statements)
ส่วนหัว  (Heading)
          ประกอบด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว  ดังรูปแบบ
             Program  ชื่อโปรแกรม;
          ชื่อโปรแกรม  เป็นไปตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของปาสคาล  และจะต้องไม่ซ้ำกับชื่ออื่น ๆ ภายในโปรแกรม
          การกำหนดชื่อต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          1.  ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร  แล้วตามด้วยตัวอักษร  หรือตัวเลข  หรือเครื่องหมายขีดล่าง  เท่านั้น  ตัวอักษรนี้จะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กก็จะมีความหมายเช่นเดียวกัน
          2.  มีความยาวไม่เกิน  127  ตัวอักขระ  แต่ตัวแปรภาษาสามารบอกความแตกต่างของชื่อแต่ละตัวได้เฉพาะอักขระ  8  ตัวแรกเท่านั้น สำหรับภาษาปาสคาลจะบอกความแตกต่างได้ถึง  60  ตัวอักขระ
          3.  ชื่อไม่ตรงกับคำสงวน  (reserve  words)  ในภาษาปาสคาล  คำสงวน  หมายถึงคำที่มีกฎเกณฑ์การใช้และมีความหมายเฉพาะที่แน่นอน  เช่น  Begin…End,If.. Then….เป็นต้น
ตัวอย่าง  Program  Tax;{โปรแกรมคิดภาษี}
               {}  ข้อความที่อยู่ในสัญลักษณ์นี้  หมายถึง หมายเหตุหรือข้อความอธิบายไม่มีผลต่อโปรแกรม
ส่วนประกาศ  (Declaration  part)
          โปรแกรมภาษาปาสคาลแตกต่างจากบางภาษาที่ต้องมีการกำหนดชื่อและชนิดของตัวแปรที่จะใช้ในโปรแกรมเสียก่อน  ส่วนประกาศโปรแกรมได้แก่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนหัวไปจนถึงข้อความก่อนคำว่า  Begin  ของโปรแกรมหลัก  ส่วนประกาศโปรแกรมจะประกอบด้วย
1.      ส่วนประกาศเลเบล  Labal
2.      ส่วนประกาศชื่อค่าคงที่  Const
3.     ส่วนกำหนดแบบข้อมูล  Type
4.     ส่วนประกาศตัวแปร  Var
5.     ส่วนโปรแกรมย่อย  Procedure/Function
          ส่วนใดไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องประกาศ
ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statements)
          ส่วนคำสั่งของโปรแกรม  จะอยู่ต่อจากส่วนประกาศ  ขึ้นต้นด้วย  Begin  และจบด้วย  End.  ช่วงระหว่าง 2 คำนี้จะเป็นคำสั่ง     จะต้องแยกแต่ละคำสั่งออกจากกันด้วย;  โดยคำสั่งแต่ละคำสั่งจะมีผลให้มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  
           Begin
                   คำสั่งที่ 1;
                   คำสั่งที่ 2;
               .
.
                   คำสั่งที่ n; 
           End.

2. C

โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ส่วนหัวของโปรแกรม
ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
- #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
- #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ
2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก
ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า หลักดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย

 3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม
เป็นส่วนของการเขียนคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้
คอมเมนต์ในภาษาซี
คอมเมนต์ (comment) คือส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงไปใน source code ซึ่งคอมไพเลอร์จะข้ามาการแปลผลในส่วนที่เป็นคอมเมนต์นี้ คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ
¨ คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย //
¨ คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */
ตัวอย่าง การคอมเมนต์ในภาษาซี
// Comment only one line
#include <stdio.h>
#include <conio.h>
main void()
{
clrscr();
/*comment
many
line*/
}
ข้อควรระวังในการใช้คอมเมนต์ คือ ในกรณีที่ใช้คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด จะไม่สามารถใช้คอมเมนต์ซ้อนคอมเมนต์ได้ ดังรูป มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการคอมไพล์
/
/
/*Comment1*/
/*Comment2*/
/*Comment3*/
/*Comment2*/
X
/*Comment1
/*Comment3*/
การใช้คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด
จะเห็นว่าในกรณีที่ต้องการใส่คอมเมนต์หลาย ๆ บรรทัดติดกันนั้น คอมเมนต์แบบหลายบรรทัดจะช่วยประหยัดเวลาในการใส่คอมเมนต์ได้มากกว่าการใช้คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว แต่ก็ควรระมัดระวังในการใช้งานด้วย
ตัวอย่างที่ 1 โปรแกรมให้นักเรียนศึกษาโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี
1: #include <stdio.h>
2: void main()
3: {
4: clrscr();
5: printf("My name is Kwanjit");
6: }
ผลลัพธ์ของโปรแกรม
My name is Kwanjit
อธิบายโปรแกรม
บรรทัดที่ 1: เป็นการบอกให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ stdio.h เข้ามาร่วมในการแปลผลด้วย โดย stdio ย่อมาจาก standard input/output และ .h คือ นามสกุลของเฮดเดอร์ไฟล์ในภาษาซี (h ย่อมาจาก header) ซึ่ง stdio.h คือ เฮดเดอร์ไฟล์ที่รวมเอาการประกาศ (declaration) ของฟังก์ชั่นมาตรฐานของภาษาซีที่เกี่ยวกับการจัดการด้านอินพุตและเอาต์พุตเข้ามาไว้ด้วยกันโปรแกรมนี้มีการเรียกใช้งานฟังก์ชั่น printf() เพื่อแสดงข้อมูลออกทางจอภาพ และเนื่องจากส่วนของการประกาศฟังก์ชั่น printf() ถูกบรรจุอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำเฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h เข้าร่วมในการแปลผลด้วย
บรรทัดที่ 2: คือฟังก์ชั่น void main() ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นหลักของโปรแกรม การทำงานของโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มต้นที่ฟังก์ชั่นนี้
บรรทัดที่ 3: เครื่องหมาย { ระบุจุดเริ่มต้นของฟังก์ชั่น main()
บรรทัดที่ 4: เป็นคำสั่งให้เคลียร์หน้าจอเวลาแสดงผลลัพธ์
บรรทัดที่ 5: เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชั่น printf() ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นมาตรฐานของภาษาซีทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ ในที่นี้จะแสดงข้อความ My name is Kwanjit ออกทางจอภาพ
บรรทัดที่ 6: เครื่องหมาย } ระบุจุดสิ้นสุดของฟังก์ชั่น main()

3.Basic
ภาษาเบสิก (BASIC)
          ภาษาเบสิก ( Basic ย่อมาจาก Beginners All - purpose Symbolic Instruction Code)เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้พัฒนาโดย Dartmouth Collage แนะนำโดย John Kemeny และ Thomas Krutz ในปี 1965 เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับ ผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรม และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากภาษา BASIC, QBASIC ปัจจุบันเป็น Visual BASIC เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร?หลาย สามารถประยุกต์ใช้งานได?ทั้งทางวิทยาศาสตร์และทางธุรกิจ
          ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา BASIC
                    CLS
                    PRINT “PLEASE ENTER A NUMBER”
                    INPUT NUMBER
                    DO WHILE NUMBER <> 999
                    SUM = SUM + NUMBER
                    vCOUNTER = COUNTER + 1
                    PRINT “PLEASE ENTER THE NEXT NUMBER”
                    INPUT NUMBER
                    LOOP
                    AVERAGE = SUM/COUNTER
                    PRINT “THE AVERAGE OF THE NUMBER IS”; AVERAGE
                    END
4. Assembly
ภาษาแอสแซมบลี้
                การเรียนรู้เพื่อใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ สิ่งที่สำคัญในลำดับต่อมาจากที่ทำความเข้าใจถึงโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์แล้วนั่นคือ การเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานข้อมูลของโปรแกรมที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ต้องการจะอยู่ในรูปของรหัสเลขฐานสิบหกหรือที่เรียกกันว่าภาษาเครื่อง หรือ แมชีนโค้ด (Machine Code) แต่เนื่องจากการเขียนโปรแกรมในลักษณะที่เป็นภาษาเครื่องนี้ ผู้เขียนโปรแกรมต้องทำการเปิดตารางรหัสคำสั่งซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและทำให้การตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นกระทำได้ยากจึงใช้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา
แอสแซมเบลอร์(Assembler) ทำการแปลภาษาแอสแซมบลีที่เขียนขึ้นนั้นเป็นภาษาเครื่องแล้วเขียนลงในหน่วยความจำโปรแกรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ต่อไป


โครงสร้างของโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี
                ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ
1.       ลาเบล (Label) ใช้ในการอ้างถึงบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งของโปรแกรมที่ทำการเขียนขึ้น
2.       รหัสนีโมนิก (Mnemonic) เป็นส่วนแสดงคำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการให้กระทำ
3.       โอเปอร์แรนด์ (Operand) เป็นส่วนที่แสดงถึงตัวกระทำหรือถูกกระทำและข้อมูลที่ใช้ในการกระทำตามคำสั่งที่กำหนดโดยรหัสนีโมนิกก่อนหน้านี้
4.       คอมเมนต์ (Comment) เป็นส่วนที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการอธิบายคำสั่งที่กระทำ หรือผลของการกระทำคำสั่งในบรรทัดหรือโปรแกรมย่อยนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เขียนสามารถตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นได้ง่ายรวมถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่นำโปรแกรมนั้นมาศึกษาใหม่อีกด้วย

5. ภาษา Java
 ภาษา Java
          ภาษา Java เป็นภาษาระดับสูงในยุคที่ 4 ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้วัตถุ (Object) เป็นหลักในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่สนใจ ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของ Object ถูกจัดกลุ่มในรูปของ Class โดยที่แต่ละคลาสมีคุณสมบัติการถ่ายทอดลักษณะ (Inheritance) ภาษา Java ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสภาวะแวดล้อมต่างกันได้โดยไม่ขึ้นกับแพตฟอร์มใดๆ (Platform Independent) เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์เข้าใจง่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                    class TestJava
                    {
                    public static void main(String[] args)
                    {
                    System.out.println("Hello World!");
                    }  
                    }
6. cobol
     ภาษาโคบอล (COBOL)
          ภาษาโคบอล เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยสถาบันมาตรฐานแห่งสหรัฐอเมริกากับบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายแห่ง และได?มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากมาตรฐานของภาษาโคบอลในปี 1968 กำหนดโดย The American National Standard Institute และในปี 1974 ได?ออกมาตรฐานที่เรียกว่า ANSI - COBOL ต่อมาเป็น COBOL 85 ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใช้?กับงานทางธุรกิจได?เป็นอย่างดี สำหรับการประมวลผลแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่? การคำนวณทางธุรกิจเช่นการจัดเก็บ เรียกใช้? และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
          คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรม ได?ไม?ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได?รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะ มีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได?รับการ ออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ ( Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOL ซึ่งจะช่วยให้การโปรแกรมสามารถทำได?ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก
          ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา COBOL
                    IF SALES-AMOUNT IS GREATER THAN SALES-QUOTA
                    COMPUTE COMMISSION = MAX-RATE * SALES - AMOUNT
                    ELSE
                    COMPUTE COMMISSION = MIN-RATE * SALES - AMOUNT




วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบเลขฐาน


ข้อ 1  ตารางแสดงรูปแบบของเลขในฐานสอง ฐานสิบ ฐานแปด และฐานสิบหก
 
 
เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานแปด
เลขฐานสิบหก
0
0000
0
0
1
0001
1
1
2
0010
2
2
3
0011
3
3
4
0100
4
4
5
0101
5
5
6
0110
6
6
7
0111
7
7
8
1000
10
8
9
1001
11
9
10
1010
12
A
11
1011
13
B
12
1100
14
C
13
1101
15
D
14
1110
16
E
15
1111
17
F
 
 


ข้อ 2 เลขฐานอื่นเป็นเลขฐาน 10

แสดงการแปลงเลข 1001112 ให้อยู่ในรูปเลขฐานสิบ 
 
1001112= (1 x 25) + (0 x 24) + (0 x 23) + (1 x 22) + (1 x 21) + (1 x 20)
 = 32 + 0 + 0 + 4 + 2 + 1
 = 39



(134)8 = (…)10
                      (134)8 = (1X82) + (3X81) + (4X80)
                                       =  64 + 24 + 4
                                        =  (92) 10 
            ดังนั้น (134)8 = (92)10




(6C)16 = (…)10
                                                (6C)16   = (5X161) + (12X160)
                                                            = 80 + 12
                                                            = (92)10
                                    ดังนั้น    (6C)16   = (92)10

 ข้อ 3  เลขฐาน 10 เป็นฐานอื่นๆ
 
24 =  110002
24 =  308
24 = 1816